เจ้าของและผู้บริหารสินทรัพย์กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย

เจ้าของและผู้บริหารสินทรัพย์

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (“กทพ.”)
สำนักงานใหญ่จตุจักร
2380 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
02-558-9800, 02-579-5380-9
02-561-2984, 02-579-5205

บทบาทของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในการให้บริการทางพิเศษและแก้ไขปัญหาการจราจร

01
กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่รถติดที่สุดในทวีปเอเชีย(1)
  • รถยนต์ในกรุงเทพฯ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ยต่ำกว่า 20 กม./ชม (2)
02
ปริมาณยานพาหนะส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • อัตราการเติบโตในกรุงเทพฯ เฉลี่ย ร้อยละ 6.1 ต่อปีจากปี 2554 ถึง 2560(3)
03
การขยายถนนหรือสร้างทางพิเศษเพิ่มเติมสามารถทำได้ยาก
  • การขยายถนนหรือสร้างทางพิเศษใหม่ต้องดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐเท่านั้น
  • มีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการก่อสร้างและลักษณะทางกายภาพของเมือง
04
ความต้องการในการเดินทางคาดว่าจะเพิ่มขึ้นด้วยปัจจัยต่างๆ
  • แนวโน้มการมีที่อยู่อาศัยในแถบชานเมืองเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งมีการจ้างงานในพื้นที่ที่ทำการศึกษาที่เพิ่มขึ้นด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.9 ต่อปีจากปี 2554 ถึง 2560(4)
  • การขยายตัวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  • การพัฒนาของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

หมายเหตุ:

  1. ข้อมูลจาก INRIX Global Traffic Scorecard (http://inrix.com/resources/inrix-2017-global-traffic-scorecard)
  2. ข้อมูลจากกรุงเทพมหานคร (https://www.unescap.org/sites/default/files/Country%20Report_Thailand-1_SUTI.pdf)
  3. ข้อมูลจากบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน)
  4. ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยพื้นที่ที่ทำการศึกษาประกอบด้วย จังหวัดกรุงเทพมหานคร, จังหวัดสมุทรปราการ, จังหวัดชลบุรี, จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมีผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการให้บริการทางพิเศษ

ความเชี่ยวชาญในการดำเนินการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)
ก่อตั้งขึ้นในปี 2515 ปัจจุบันให้บริการทางพิเศษ 8 สายทาง มีระยะทางรวม
224.6 กิโลเมตร
และทางเชื่อมต่อ 3 ทางเชื่อมในกรุงเทพฯ
มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารจัดการทางพิเศษ
มีความเข้าใจและความชำนาญในการพัฒนาและบำรุงรักษาทางพิเศษ
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ กทพ. ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากกระทรวงและหน่วยงานรัฐต่างๆ
ดำเนินโครงการปรับปรุงและก่อสร้างทางพิเศษโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
ขยายทางพิเศษไปยังบริเวณที่มีความต้องการใช้บริการสูง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด
ดำเนินโครงการบำรุงรักษาทางพิเศษของ กทพ. ที่สำคัญเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพของทางพิเศษ
พัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด และเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ

ที่มา: การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)