ทางพิเศษบูรพาวิถี หนึ่งในทางยกระดับที่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางที่มีระยะทางยาวที่สุดในประเทศไทย

ระยะทางทั้งหมด 55.0 กิโลเมตร
เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพฯ กับจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังรองรับการจราจรจากเขตที่อยู่อาศัยแถบบางนา เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ และให้บริการรถยนต์เดินทางไปทำงาน ท่องเที่ยวและขนส่งระหว่างจังหวัด

ปริมาณการจราจรโดยเฉลี่ย

156,724
คันต่อวัน (1)

ความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจร

360,000
คันต่อวัน (2)
หนึ่งในสองเส้นทางที่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางที่เชื่อมต่อสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิกับย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ
ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิในอนาคต
จัดเก็บค่าผ่านทางในระบบปิด ซึ่งผู้ใช้ทางจะต้องชำระค่าผ่านทางตามระยะทางที่เดินทางและตามประเภทรถ
เดินทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร:
ค่าผ่านทางอัตราคงที่ตามประเภทรถ

เดินทางเกิน 20 กิโลเมตร:
ค่าผ่านทางตามระยะทางที่เดินทางและประเภทรถ

หมายเหตุ:

(1) ข้อมูล 9 เดือนสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2561 จาก กทพ.

(2) ความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรอ้างอิงมาจากรายงานประเมินปริมาณจราจรของผู้ประเมินปริมาณการจราจร (โชติจินดา คอนซัลแตนท์)  ซึ่งคำนวณจาก (ก) พฤติกรรมของการจราจรในช่วงเวลาเร่งด่วนบนแต่ละช่วงทางพิเศษ (Section) ในปัจจุบัน รวมถึงปริมาณการจราจรและสัดส่วนการขึ้นการลงของแต่ละด่านเก็บค่าผ่านทาง สัดส่วนปริมาณการจราจรในช่วงเวลาเร่งด่วนของด่านเก็บค่าผ่านทางบนช่วงทางพิเศษนั้น ๆ ต่อปริมาณการจราจรทั้งวัน เป็นต้น และ (ข) ความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรตามทฤษฎีซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานคู่มือความจุงานวิศวกรรมการทาง (Highway Capacity Manual) ที่กำหนดปริมาณการจราจรที่สามารถวิ่งผ่านช่องจราจรต่อชั่วโมงไว้ที่ 2,300 Passenger Car Unit (“PCU”) ต่อชั่วโมงต่อช่องจราจร โดยจะถือว่าปริมาณการจราจรบนทางพิเศษเต็มความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรเมื่อช่วงทางพิเศษเกินกว่ากึ่งหนึ่งของช่วงบนทางพิเศษทั้งหมด มีอัตราส่วนปริมาณการจราจรในช่วงเวลาเร่งด่วน (ขาเข้าหรือขาออก) ต่อความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรตามทฤษฎีเท่ากับหรือมากกว่า 1.0 ทั้งนี้ ในการคำนวณความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรที่ได้กล่าวมาเป็นความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรตามสภาพการใช้งานและสภาพโครงสร้างของทางพิเศษในปัจจุบัน และยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น รูปแบบการจัดการจราจรและพฤติกรรมของผู้ใช้ทางพิเศษด้วย ดังนั้น จึงอาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตตามการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้ใช้ทางพิเศษ